เครื่องกําเนิดไฟฟ้า

Last updated: 27 มิ.ย. 2566  |  414 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เครื่องกําเนิดไฟฟ้า

คือเครื่องกลที่ใช้สร้างหรือผลิตพลังงานไฟฟ้า โดยอาศัยหลักการที่ว่า เมื่อขดลวดหมุนตัดเส้นแรงแม่เหล็กก็จะเกิดกระแสไฟฟ้าในขดลวด จึงต้องมี ตัวต้นกําลังเป็นตัวหมุนสนามแม่เหล็กให้ตัดกับขดลวด


หลักการทํางานของเครื่องกําเนิดไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับจะเหมือนกันคือ เมื่อ ขดลวดตัดกับเส้นแรงแม่เหล็ก หรือเส้นแรงแม่เหล็กหมุนตัดกับขดลวดตัวนํา จะเกิดแรงดันไฟฟ้าใน ตัวนํา ส่วนประกอบที่สําคัญคือ

 เครื่องต้นกําลัง (engine prime mover)
 เครื่องกําเนิดไฟฟ้า (alternator)
แผงควบคุม (control panel)
สวิตช์สับเปลี่ยน (transfer switch)
1. เครื่องต้นกําลัง ทําหน้าที่ขับเครื่องกําเนิดไฟฟ้าให้หมุนเพื่อให้ขดลวดหมุนตัดกับ สนามแม่เหล็ก การขับให้เครื่องกําเนิดไฟฟ้าหมุนนั้นอาจใช้พลังงานจากหลายแหล่งเช่น เครื่องยนต์ พลังงานน้ํา ความร้อน และพลังงานลม เป็นต้น เครื่องกําเนิดไฟฟ้าที่ใช้ทั่วไปในงานอุตสาหกรรมจะใช้ พลังงานจากเครื่องยนต์ มีส่วนประกอบที่สําคัญคือ
ระบบเชื้อเพลิง เป็นน้ํามันดีเซลหรือน้ํามันเตา
ระบบระบายความร้อน ปกติจะใช้น้ําในการระบายความร้อน
ระบบไอเสีย ซึ่งต้องระบายควันหรือไอเสียออกนอกห้อง
ระบบเริ่มเดินเครื่อง โดยปกติจะใช้แบตเตอรี่ในการเริ่มเดินเครื่อง
2. เครื่องกําเนิดไฟฟ้า หรือ ออลเตอร์เนเตอร์ (alternator) เป็นตัวที่ทําหน้าที่สร้าง กระแสไฟฟ้า มีส่วนประกอบที่สําคัญคือ

ส่วนที่หมุน (rotor )
ส่วนที่อยู่กับที่ (stator )
ส่วนกระตุ้น (exciter)
ส่วนควบคุมแรงดัน (voltage regulator )
3. แผงควบคุม ทําหน้าที่ดังนี้

ควบคุมการทํางานของเครื่องกําเนิดไฟฟ้า
ควบคุมการประจุแบตเตอรี่
ทําการตรวจสอบตลอดเวลาว่าไฟฟ้าขาดหายไปหรือไม่
เมื่อพบว่าไฟฟ้าขาดหายไปจะส่งสัญญาณให้ชุดเครื่องกําเนิดไฟฟ้าเริ่มเดินเครื่อง
ตรวจสอบว่าไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฯ ว่ากลับมาจ่ายอีกครั้งหรือยัง
เมื่อพบว่ามีไฟฟ้าจากทางการไฟฟ้าฯ จ่ายตามเดิมแล้วจะทําการสับเปลี่ยนโหลด มายังระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าฯ
ส่งสัญญาณให้ชุดเครื่องกําเนิดไฟฟ้าหยุดเดินเครื่อง
สวิตช์สับเปลี่ยน ทําหน้าที่สับเปลี่ยนโหลดจากแหล่งจ่ายไฟปกติไปยังชุดเครื่องกําเนิด
ไฟฟ้า ปกติจะเป็นชนิดที่ทํางานโดยอัตโนมัติจากการควบคุมของแผงควบคุม

การส่องสว่าง

1. หลักการส่องสว่าง ความสว่างเป็นสิ่งจําเป็นสําหรับการมองเห็นของมนุษย์ อีกทั้ง ยังให้อารมณ์กับผู้มองเห็นอีกด้วย การส่องสว่างจึงต้องมีความสว่างที่เพียงพอ มีความถูกต้องของสีที่ มองเห็น และให้ความรู้สึกสบายด้วย การให้แสงสว่างมีหลักการดังนี้
(1) การให้แสงสว่างทั่วพื้นที่ เป็นการให้ความสว่างทั่ว ๆ ไปไม่เฉพาะจุดใดจุดหนึ่ง การติดตั้งดวงโคมก็จะกระจายทั่วไป ความสว่างจึงเท่ากันหมดไม่เลือกจุดที่ต้องการใช้งานเป็นพิเศษ จึงสิ้นเปลืองพลังงานสูง ตัวอย่างที่เห็นได้คือ ตามห้างสรรพสินค้า หรือในห้องเรียน เป็นต้น แต่ก็มีข้อดี ในแง่ที่สามารถเปลี่ยนตําแหน่งการทํางานได้อย่างคล่องตัว
(2) การให้แสงสว่างเฉพาะที่ เป็นการเลือกให้แสงสว่างเฉพาะจุดที่ต้องการใช้งานจริง ๆ โดยแสงสว่างในส่วนที่ไม่ได้ใช้งานจะสว่างน้อยกว่าปกติ มีข้อดีในแง่ของการประหยัดพลังงาน แต่ อาจขาดความคล่องตัวในการทํางานบางอย่างที่ต้องเปลี่ยนแปลงจุดทํางานบ่อย เหมาะกับการทํางาน หรือกานผลิตที่ตําแหน่งการใช้งานไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงเช่น ในสายงานการผลิต (line process) เป็นต้น
(3) การให้แสงสว่างเฉพาะตําแหน่ง เป็นการให้แสงสว่างเพิ่มเติมเฉพาะกับตําแหน่ง
หรืองานที่ต้องการความสว่างมากกว่าปกติ หรืองานที่ต้องการความละเอียดสูง ทําได้โดยการเพิ่มดวง

โคมในจุดที่ต้องการเช่น โต๊ะเขียนแบบ โต๊ะเจียระไน เป็นต้น วิธีนี้ถือเป็นวิธีการให้ความสว่างที่ ประหยัดที่สุด และยังมีข้อดีในแง่ของการควบคุมตําแหน่ง และทิศทางความสว่างอีกด้วย

2. หน่วยที่เกี่ยวข้องกับแสงสว่าง
ค่าฟลั๊กการส่องสว่าง (luminous flux) หมายถึง ปริมาณแสงสว่าง หน่วย เป็นลูเมน
ค่าประสิทธิผล (efficacy) หมายถึง ปริมาณแสงที่ออกมาต่อวัตต์ที่ใช้ หรือลูเมนต่อวัตต์ หลอดที่มีค่าประสิทธิผลสูงคือหลอดที่ให้ปริมาณแสง ออกมามากแต่ใช้วัตต์ต่ํา
ความถูกต้องของสี (color rendering) หมายถึง แสงที่ส่องไปถูกวัตถุให้ ความถูกต้องของสีมากน้อยเพียงใด มีหน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์ หลอดที่มีความ ถูกต้อง 100% หมายความว่าเมื่อใช้หลอดนี้ส่องสว่างวัตถุชิ้นหนึ่งแล้ว สี ของวัตถุที่เห็นไม่มีความเพี้ยนของสี
ความส่องสว่าง (อิลูมิแนนซ์) หมายถึงปริมาณแสงที่กระทบลงบนวัตถุต่อ พื้นที่ มีหน่วยเป็น ลูเมนต่อตารางเมตร หรือ ลักซ์
ความสว่าง (ลูมิแนนซ์) หมายถึงปริมาณแสงที่สะท้อนออกมาจากวัตถุต่อ พื้นที่ มีหน่วยเป็น แคนเดลาต่อตารางเมตร ปริมาณแสงที่เท่ากันเมื่อตก กระทบลงมาบนวัตถุที่มีสีต่างกันจะมีปริมาณแสงสะท้อนกลับต่างกัน หมายถึงมีลูมิแนนซ์ ต่างกัน สาเหตุที่ต่างกันเนื่องมาจากสัมประสิทธิ์การ สะท้อนแสงของวัสดุต่างกัน
3. หลอดไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ หลอดไฟฟ้ามีโครงสร้าง รูปร่าง สีของแสง 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้